เม้นส่งต่อให้เพื่อนคลิกเลยจ้า

sarunporn021

การเรียนรู้พฤติกรรมนิยม

ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ทฤษฏีที่เกี่ยวกับการเรียนรู้มี 3 กลุ่มใหญ่ (ทิศนา แขมมณี. 2548 : 50) มีดังนี้ 1.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม นักคิดในกลุ่มนี้มองว่าธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็น มีดังนี้ 1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญ 3 แนวคิด (ทิศนา แขมมณี. 2548 : 50) ดังต่อไปนี้ 1. ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory) 2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) 3. ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory) ประกอบด้วยแนวคิด ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ กฎการเรียนรู้ 1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ 2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อย ๆ ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร ถ้าไม่ได้กระทำซ้ำบ่อย ๆ การเรียนรู้นั้นจะไม่คงทนถาวร และในที่สุดอาจลืมได้ 3. กฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ความมั่งคงของการเรียนรู้จะเกิดขึ้น หากได้มีการนำไปใช้บ่อย ๆ หากไม่มีการนำไปใช้อาจมีการลืมเกิดขึ้นได้ 4. กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of Effect) เมื่อบุคคลได้รับผลที่พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจ จะไม่อยากเรียนรู้ ดังนั้นการได้รับผลที่พึงพอใจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ 2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) 1. พฤติกรรมเรสปอนเด้นท์ (Respondent behavioral) เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดย สิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งจะสามารถสังเกตได้ นิยมเรียกกันว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classic Conditioning Theory) ทฤษฎีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข มีแนวคิดว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข ทฤษฎีการเรียนรู้ของวัตสัน เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน มีแนวคิดว่าการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ 2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่อง (Contiguous Conditioning Theory) ของกัทธรี (Guthrie) ทฤษฎีการเรียนรู้ของกัทธรี กฎการเรียนรู้ กัทธรีกล่าวว่า พฤติกรรมของมนุษย์มีสิ่งเร้าควบคุม และการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองจะเปลี่ยนไปตามกฎเกณฑ์ เขายอมรับว่าพฤติกรรมหลายอย่างมีจุดมุ่งหมาย พฤติกรรมใดที่ทำซ้ำ ๆ เกิดจากกลุ่มสิ่งเร้าเดิมมาทำให้เกิดพฤติกรรมเช่นนั้นอีก กัทธรีจึงได้สรุปกฎการเรียนรู้ต่าง ๆ ไว้ดังนี้ 1. กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Contiguity) เมื่อมีสิ่งเร้ากลุ่มหนึ่งที่เกิดพร้อมกับอาการเคลื่อนไหว เมื่อสิ่งเร้านั้นเกิดขึ้นอีก อาการเคลื่อนไหวเดิมก็มีแนวโน้มที่จะเกิดตามมาด้วย เช่น เมื่อมีงูมาปรากฏต่อหน้าเด็กชาย ก. จะกลัวและวิ่งหนี ทุกครั้งที่เห็นงูเด็กชาย ก. ก็จะกลัวและวิ่งหนีเสมอ ฯลฯ 2. กฎของการกระทำครั้งสุดท้าย (Law of Recency) หลักของการกระทำครั้งสุดท้าย (Recency) นั้น ถ้า การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์จากการกระทำเพียงครั้งเดียว ซึ่งเป็นการกระทำครั้งสุดท้ายในสภาพการณ์นั้น เมื่อสภาพการณ์ใหม่เกิดขึ้นอีกบุคคลจะทำเหมือนที่เคยได้กระทำในครั้งสุดท้าย ไม่ว่าการกระทำครั้งสุดท้ายจะผิดหรือถูก ก็ตาม 3. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้แม้เพียงครั้งเดียว (One trial learning) เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น อินทร์จะแสดงปฏิกิริยาตอบสนองออกมา ถ้าเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้ว ไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก หรือไม่จำเป็นต้องฝึกซ้ำ 4. หลักการจูงใจ (Motivation) ในการทำให้เกิดการเรียนรู้นั้น กัทธรีเน้นการจูงใจ (Motivation) มากกว่าการเสริมแรง ซึ่งมีแนวความคิดเช่นเดียวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟและวัตสัน 3. พฤติกรรมโอเปอแรนท์ (Operant behavioral) เป็นพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมการตอบสนองออกมา (Emitted) โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม นิยมเรียกกันว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์ (Operant Conditioning Theory) ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ เน้นการเสริมแรงหรือการให้รางวัล มีแนวคิดว่าการกระทำใด ๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม มีการให้รางวัล เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียน 1. การกระทำใด ๆ ถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรง แนวโน้มที่ความถี่ของการกระทำนั้นจะลดลงและหายไปในที่สุด 2. การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว 3. การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว 4. การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่ออินทรีย์กระทำพฤติกรรมที่ต้องการ สามารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้
Today, there have been 9 visitors (12 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free