เม้นส่งต่อให้เพื่อนคลิกเลยจ้า

sarunporn021

การเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์

ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาหรือปฏิสัมพันธ์ ประกอบด้วยแนวคิด ได้แก่ บันดูรา ได้ให้ความแตกต่างของการเรียนรู้ (Learning) และการกระทำ (Performance) ว่าความแตกต่างนี้สำคัญมาก เพราะคนอาจจะเรียนรู้อะไรหลายอย่างแต่ไม่กระทำ เป็นต้นว่า นิสิตและนักศึกษาทุกคนที่กำลังอ่านตำรานี้คงจะทราบว่า การโกงในการสอบนั้นมีพฤติกรรมอย่างไร แต่นิสิตนักศึกษาเพียงน้อยคนที่จะทำการโกงจริง ๆ บันดูราได้สรุปว่า พฤติกรรมของมนุษย์อาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท 1 พฤติกรรมสนองตอบที่เกิดจากการเรียนรู้ ผู้ซึ่งแสดงออก หรือ กระทำสม่ำเสมอ 2 พฤติกรรมที่เรียนรู้แต่ไม่เคยแสดงออกหรือกระทำ 3 พฤติกรรมที่ไม่เคยแสดงออกทางการกระทำ เพราะไม่เคยเรียนรู้จริง ๆ บันดูรา ได้ให้ความแตกต่างของการเรียนรู้ (Learning) และการกระทำ (Performance) ว่าความแตกต่างนี้สำคัญมาก เพราะคนอาจจะเรียนรู้อะไรหลายอย่างแต่ไม่กระทำ เป็นต้นว่า พฤติกรรมของมนุษย์อาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท 1 พฤติกรรมสนองตอบที่เกิดจากการเรียนรู้ ผู้ซึ่งแสดงออก หรือ กระทำสม่ำเสมอ 2 พฤติกรรมที่เรียนรู้แต่ไม่เคยแสดงออกหรือกระทำ 3 พฤติกรรมที่ไม่เคยแสดงออกทางการกระทำ เพราะไม่เคยเรียนรู้จริง ๆ บันดูรา ไม่เชื่อว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจะคงตัวอยู่เสมอ ทั้งนี้เป็นเพราะสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและทั้งสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่น เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวก็คาดหวังว่าผู้อื่นจะแสดงพฤติกรรม ก้าวร้าวต่อตนด้วย ความคาดหวังนี้ก็ส่งเสริมให้เด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว และผลพวงก็คือว่า เด็กอื่น (แม้ว่าจะไม่ก้าวร้าว) ก็จะแสดงพฤติกรรมตอบสนองแบบก้าวร้าวด้วย และเป็นเหตุให้เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวยิ่งแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการย้ำความคาดหวังของตน บันดูราสรุปว่า “เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว จะสร้างบรรยากาศก้าวร้าวรอบ ๆ ตัว จึงทำให้ เด็กอื่นที่มีพฤติกรรมอ่อนโยนไม่ก้าวร้าวแสดงพฤติกรรมตอบสนองก้าวร้าว เพราะเป็นการแสดงพฤติกรรมต่อสิ่งแวดล้อมที่ก้าวร้าว” ทฤษฎีการเรียนรู้ของอัลเบิร์ต แบนดูรา เชื่อว่า สิ่งแวดล้อมและผู้เรียนมีความสำคัญเท่า ๆกัน พฤติกรรมส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเรียนแบบจากตัวแบบและตัวแบบก็ไม่จำเป็นสิ่งที่มีชีวิตเสมอไป อาจเป็นลักษณะ เช่นหนังสือ หรือคำบอกเล่า เป็นต้น ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเซียร์ เชื่อว่า พัฒนาการด้านสังคม เกิดจากการอบรมลี้ยงดู และเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ตามความหวังของสังคมในเด็กแต่ละวัย แบ่งขั้นพัฒนาการออกเป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ - พฤติกรรมเบื้องต้น ได้แก่ ความต้องการพื้นฐาน และการเรียนรู้ระยะต้นของทารก - ระบบสิ่งเร้าจากสังคมภายในสังคมระยะแรก คือ การเรียนรู้โดยใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง - ระบบสิ่งเร้าจากสังคมระยะหลัง คือ เป็นการเรียนรู้จากสังคมภายนอกครอบครัว
 
Today, there have been 7 visitors (9 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free